1/2

โรงแรม Kanaya Hotel : ทางเข้าสู่โลกแห่งอดีต

"ฉันนั่งรถบัสจากสถานี Tobu Nikko เพียงแค่ 5 นาที ก็มาถึงยังสะพานShinkyo อันงดงาม แล้วเราก็เห็นโรงแรม Kanaya Hotel อันเป็นจุดหมายอยู่ตรงหน้า

ฉันเดินขึ้นเนินไปเรื่อยๆพร้อมสายลมเย็นพัดโชยโดนใบหน้า แล้วก็พบกับโคมไฟแบบญี่ปุ่นสีแดงอมส้มทำจากไม้ มีตัวอักษรเขียวไว้ว่า KANAYA HOTEL โคมนี้ไม่ได้ตั้งอยู่อย่างโดดเด่นนัก แต่ฉันกลับรู้สึกเหมือนหลงเข้าไปในฉากประหลาดในหน้าวรรณกรรมชื่อดังซึ่งมีตัวละครมากมายในอดีต"

เมื่อมาถึงยังประตูทางเข้าด้านหน้า ฉันก็พบกับสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกแต่มีเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นผสมอยู่ ในฐานะที่เป็นชาวตะวันตก ฉันรู้สึกคุ้นเคย แต่ก็รู้สึกถึงความโดดเด่นอย่างมีเอกลักษณ์ไปพร้อมๆกัน ทันทีที่เดินผ่านประตูไม้แบบหมุนไป ก็รู้สึกราวกับหลุดเข้าไปในอดีตราวร้อยกว่าปีที่แล้ว

แม้ว่าที่นี่จะดูเหมือนบ้านไม้อันหรูหราบนภูเขา แต่กลับมีการตกแต่งด้วยศิลปะแบบญี่ปุ่น เช่น การแกะสลักและลงสีไม้ที่ประตู หรือ ที่จับสีแดงในล็อบบี้ที่มักพบในศาลเจ้าแบบชินโต

ผนังด้านหลังเค้าท์เตอร์ทำมาจากหินโอยะ ซึ่งเป็นหินอัคนีที่เกิดจากการแข็งตัวของลาวาและเถ้าถ่าน นิยมนำมาใช้ก่อนสร้างในสมัยเมจิของญี่ปุ่น ผนังได้รับการตกแต่งด้วยภาพที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของโรงแรม Kanaya Hotel คือมิชชันนารีชาวอเมริกานาม เจมส์ เคอร์ติส เฮปเบิร์น และนักเขียนชาวอังกฤษนาม อิซาเบลล่า เบิร์ด

โรงแรม Kanaya Hotel เมื่อปีค.ศ.1921

ต้นกำเนิดแห่งตำนานของโรงแรม

ต้นกำเนิดของโรงแรมเริ่มขึ้นเมื่อ เจมส์ เคอร์ติส เฮปเบิร์น มาเยือนนิกโกเมื่อปีค.ศ.1871 และได้มาพักที่บ้านของนักดนตรีของศาลเจ้านิกโกโทโชงูนามว่า เซนอิจิโร คานายะ จากนั้นเฮปเบิร์นได้เล็งเห็นว่านิกโกเหมาะจะเป็นเมืองท่องเที่ยวในหมู่ชาวต่างชาติได้ จึงแนะนำให้คานายะ ลองเปิดโรงแรมเพื่อต้อนรับแขกต่างชาติ

เซนอิจิโร คานายะ ได้ทำตามคำแนะนำนั้น และได้เปิดบริการที่พักแบบบ้านไม้ในปีค.ศ. 1873 เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ต่อจากนั้นในปีค.ศ. 1878 อิซาเบลล่า เบิร์ด นักสำรวจและนักเขียนก็ได้มาพักที่โรงแรมขอคานายะ เป็นเวลา 12 วันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากการเดินทางจากโตเกียวไปฮอกไกโด และได้เขียนบันทึกไว้ในหนังสือชื่อ “Unbeaten tracks in Japan” ตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1880 บันทึกการเดินทางนี้ เธอได้อธิบายถึงสิ่งต่างๆที่เธอไปพบเจอ สัมผัสประสบการณ์ตลอดช่วงที่อยู่ เธอยังเขียนถึงความคิดของเธอลงไปด้วย รวมถึงข้อความที่ว่า เธอมั่นใจว่าต้องมีชาวต่างชาติคนอื่นอีกที่มาเยือนญี่ปุ่นเหมือนกับเธอ

ฉันไม่ได้คาดหวังให้ห้องสวยงานถึงเพียงนี้ กลับคิดว่าจะมีรอยหมึกหยดเปื้อน พรมที่แหว่ง หน้าต่างกระดาษที่ขาด” – อิซาเบลล่า เบิร์ด บรรยายเกี่ยวกับห้องพังไว้ในหนังสือ “Unbeaten tracks in Japan”

บ้านประวัติศาสตร์ของโรงแรม Kanaya Hotel ปัจจุบันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ถัดจากCottage Inn Restaurant & Bakery

ช่วงระยะเวลาที่อิซาเบลล่า เบิร์ดพักอยู่ที่นี่ในสมัยนั้นโรงแรมยังไม่ได้เป็นตึกเหมือนปัจจุบัน แต่เป็นลักษณะกระท่อมไม้ ที่นี่ถือเป็นบ้านแบบญี่ปุ่นโบราณและเป็นต้นกำเนิดของโรงแรม Kanaya Hotel ซึ่งมีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยวว่าเป็น "บ้านซามูไร" ปัจจุบันบ้านประวัติศาสตร์ของโรงแรม Kanaya Hotelซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์นี้ยังคงเปิดให้คนทั่วไปเข้าชม

สมัยเมจิ เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเปิดประเทศจึงมีจำนวนชาวต่างชาติเข้ามาในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นิกโกเป็นเมืองที่ชาวต่างชาติอาศัยอยู่ ต่างก็หลงรักสถานที่นี้ แน่นอนว่าโรงแรมKanaya Hotel ก็เป็นสถานที่ที่ชาวต่างชาติล้วนอยากมาเยือน และกลายเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงอย่างรวดเร็ว โรงแรมKanaya Hotel จึงเป็นเสมือนบ้านที่ต้อนรับคนที่เดินทางมา เช่น เจ้าชายอาร์เธอร์แห่งคอนน็อต ประเทศอังกฤษ เฮเลน เคลเลอร์ นักเขียนชาวอเมริกัน รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์อย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

งานศิลปะและประวัติศาสตร์ที่คงอยู่ทุกซอกทุกมุม

ฉันก้าวเดินไปบนผืนพรมแดงที่โถง ขึ้นบันไดอันเงาวาว แล้วหยุดยืนมองรูปภาพขาวดำของแขก ทำให้อดจินตนาการถึงผู้คนในภาพที่ได้ใช้บันไดนี้เดินขึ้นลงเช่นกัน

ที่โถงทางเดินของโรงแรม Kanaya Hotel เรียงรายไปดูภาพจำนวนมาก ซึ่งเป็นภาพถ่ายของแขกที่มาพัก

ภายในมุมต่างๆของโรงแรมก็เต็มไปด้วยผลงานศิลปะอันทรงเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟสมัยเมจิ สารานุกรมกว่าศตวรรษ เครื่องจานชามโบราณ กระจกที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ส่วนชิ้นที่ฉันชอบมาที่สุดคงเป็นเตาผิงไฟที่ทำจากหินโอยะ ตั้งอยู่ที่บริเวณบาร์ของโรงแรม ว่ากันว่าเตาผิงนี้ออกแบบโดย Frank Lloyd Wright สถาปนิกของโรงแรมImperial ที่โตเกียวซึ่งก่อสร้างโดยใช้หินโอยะเป็นวัสดุเช่นกัน ทำให้ฉันต้องจินตนาการถึงตัวเองอยู่หน้าเตาผิงพร้อมแก้วสก็อตช์ในมือ และถือหนังสือดีๆในมืออีกข้างหนึ่ง

บาร์ “Dacite” ตั้งชื่อตามนักวิทยาศาสตร์หินโอยะ

หลังจากท่องเที่ยวมาราวกับเดินทางร่วมหลายทศวรรษ ในที่สุดเราก็มาถึงห้องพักที่จะค้างคืนนี้ ชั่วครู่เดียวที่เห็นห้องนี้ ฉันรู้สึกสบายจากไออุ่น ความรู้สึกหรูหรา จากนั้นก็สัมผัสได้ถึงเอกลักษณ์อันโดนเด่นของโรงแรม เพดานห้องก็มีโครงไม้แบบญี่ปุ่นชวนให้นึกถึงห้องแบบทาทามิ หน้าต่างที่มีประตูบานเลื่อน และฮีตเตอร์ไอน้ำที่หาชมยากในญี่ปุ่น

หลังจากพักผ่อนในห้อง ผ่อนคลายกับไออุ่นจากฮีตเตอร์ไอน้ำ ฉันก็ได้ยินเสียงระฆัง เมื่อดูนาฬิกาก็พบว่าเป็นเวลา 6 โมงแล้ว ซึ่งพึ่งมาทราบภายหลังว่านั้นเป็นสัญญาณระฆังบอกเวลามื้อเย็นแบบนี้เป็นธรรมเนียมของโรงแรม Kanaya Hotel ในสมัยก่อนการบอกเวลาแบบนี้ถูกนำมาใช้แทนการประกาศแจ้งเวลาอาหาร ฉันจึงมุ่งหน้าไปยังห้องอาหาร ที่ห้องโถงใหญ่ตกแต่งและประดับอย่างสวยงาม อดตื่นเต้นไม่ได้ว่าจะมีอาหารสุดตระการตาอะไรออกมา

ห้องอาหารที่ตกแต่งด้วยไม้แกะสลักจากช่างท้องถิ่นผู้มีชื่อเสียง และยังมีเครื่องจานชามโบราณจัดแสดงอยู่ด้วย

สถานที่และพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง